แต่เดิมที หากกิจการใดที่ต้องการทำประโยชน์เพื่อสังคม
ก็มักจะถูกก่อตั้งในรูปแบบขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของมูลนิธิหรือสมาคม
อย่างไรก็ตาม
รูปแบบองค์กรเหล่านี้ไม่ได้สนับสนุนกิจการก่อให้เกิดรายได้ในเชิงพาณิชย์มากนัก
และนอกจากนี้ บางรูปแบบองค์กร อาทิเช่น มูลนิธิ
ซึ่งหากมีการเลิกหรือยุบมูลนิธิเกิดขึ้น
ทรัพย์สินของมูลนิธินั้นจะตกเป็นของแผ่นดินโดยไม่ได้กลับคืนสู่ผู้ก่อตั้งแต่อย่างใดซึ่งเงื่อนไขแบบนี้อาจจะไม่เหมาะสมกับองกรณ์ธุรกิจมากนัก
จึงเป็นที่มาของการกำเนิดวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้
ที่ส่งผลให้สามารถดำเนินกิจการในเชิงพาณิชย์ที่ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลต่อการพัฒนาสังคม
ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อมได้นั้นเอง
วิสาหกิจเพื่อสังคม คืออะไร?
บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า
หรือการบริการ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่บุคคลผู้สมควรได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ
การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น
เป็นเป้าหมายหลักของกิจการ โดยวิสาหกิจเพื่อสังคมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น
(2) วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น
เงื่อนไขสำคัญในการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม
เงื่อนไขหลักของวิสาหกิจเพื่อสังคมอย่างแรกก็คือ
ต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่า 50% มาจากการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการ
เว้นแต่ถ้าจะเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นอาจมีรายได้น้อยกว่า
50% มาจากการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการได้
นอกจากนี้
วิสาหกิจเพื่อสังคมประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น
กฎหมายได้กำหนดข้อแม้ไว้ว่าสามารถนำผลกำไรมาแบ่งปันให้ผู้เป็นหุ้นส่วนได้แค่เพียง
30% ของกำไรเท่านั้น ส่วนกำไรอีก 70% จะต้องนำไปลงทุนในกิจการเพื่อสังคมต่อไป
เงื่อนไขอื่นที่สำคัญอื่น
ก็จะเกี่ยวกับระยะเวลาที่นิติบุคคลนั้นต้องดำเนินกิจการมาก่อนขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
โดยนิติบุคคลจะต้องดำเนินกิจการเพื่อสังคมให้ครบอย่างน้อย 1 ปี ก่อน
(ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เรื่องระยะเวลาดำเนินกิจการในการขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
พ.ศ. 2562)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคมมีอะไรบ้าง?
หลังจากที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) นิติบุคคลที่ได้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้น สามารถขออนุมัติจากกรมสรรพากรเพื่อขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคมจะอ้างอิงจาก พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 291) ซึ่งได้สรุปไว้ในตารางด้านล่าง เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
กรณีของวิสาหกิจเพื่อสังคม |
ประโยชน์สำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคม |
ประโยชน์สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม |
1.วิสาหกิจเพื่อสังคมไม่จ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไร |
ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล |
· ผู้ลงทุนในหุ้นสามัญของวิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถหักรายจ่ายได้
· ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินสามารถหักรายจ่ายได้ |
2.
วิสาหกิจเพื่อสังคมที่จ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรไม่เกินร้อยละ 30 |
ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล |
|
3.
วิสาหกิจเพื่อสังคมที่จ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรเกินร้อยละ 30 |
ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี |
|
เขียนและเรียบเรียงโดย รักพล สังษิณาวัตร
(ทนายความรักพล)
Email: rukphons@gmail.com
Tel: 095-390-8245
0 ความคิดเห็น