Ticker

6/recent/ticker-posts

ผู้เยาว์ร้องทุกข์ได้เองหรือไม่?


หากเราสังเกกตุตามแหล่งข่าวต่างๆ เรามักจะพบว่าคดีทางอาญาที่เกิดขึ้น ถ้าหากเป็นความผิดต่อส่วนตัว ขั้นตอนทางกฎหมายจะต้องเริ่มต้นจากมีคำร้องทุกข์โดยผู้เสียหายก่อนเสมอ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของการดำเนินคดีอาญาเลยก็ว่าได้ หากไม่มีคำร้องทุกข์เกิดขึ้นหรือคำร้องทุกข์นั้นไม่ได้เป็นไปอย่างถูกต้อง ก็อาจส่งผลให้พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจในการสอบสวน และส่งผลให้อัยการไม่มีอำนาจฟ้องตามไปด้วย 

บ่อยครั้งที่ความผิดทางอาญาได้ถูกกระทำต่อผู้เสียหายที่เป็ฯผู้เยาว์ ปัญหาก็คึอผู้เยาว์สามารถที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้เองหรือไม่ จะต้องผ่านหรือได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองก่อนหรือเปล่า? แต่ก่อนที่จะเข้าสู่คำตอบ เราจะต้องรู้ก่อนว่า "คำร้องทุกข์" คืออะไร

คำร้องทุกข์คืออะไร?

ในทางกฎหมาย “คำร้องทุกข์” หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ ซึ่งได้มีคำอธิบายไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7)

ฉะนั้น นอกจากจะต้องกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้กระทำความผิดแล้ว จะมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ จึงจะสามารถถือเป็นคำร้องทุกข์ได้ตามกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากการลงบันทึกประวันที่เป็นการแจ้งต่อตำรวจเฉยๆ

ผู้เยาว์สามารถที่ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้เองหรือไม่?

จริงๆแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีข้อกฎหมายข้อใดที่บัญญัติห้ามผู้เยาว์ร้องทุกข์เอาไว้ หรือต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนเลย ดังนั้น คำตอบจึงเป็นที่ชัดเจนว่า หากผู้เยาว์เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญา ผู้เยาว์ก็สามารถมีคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ด้วยตนเอง

เขียนและเรียบเรียงโดย รักพล สังษิณาวัตร 
(ทนายความรักพล)
Email: rukphons@gmail.com
Tel: 095-390-8245



แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น